2.การเข้ารหัสข้อมูล
การเข้ารหัสข้อมูล (Cryptography):
ความหมาย การเข้ารหัส เป็นการใช้ อัลกอริทึม ที่ซับซ้อนในการเปลี่ยน ข้อมูลเดิม( plaintext ) ด้วยการเข้ารหัส เปลี่ยนเป็น ข้อมูลมีผ่านการเข้ารหัสแล้ว( ciphertext ) อัลกอริทึม ที่ใช้ในการ เข้ารหัส และ ถอดรหัส ข้อมูลแล้วส่งผ่านกันในระบบเน็กเวิร์คนั้น
ประเภทของการเข้ารหัส:
ประเภทของการเข้ารหัส เข้ารหัส และ ถอดรหัส ข้อมูลแล้วส่งผ่านกันในระบบเน็กเวิร์คนั้น มี 2 แบบ คือ การเข้ารหัสแบบสมมาตร ( Symmetric key algorithms) การเข้ารหัสแบบอสมมาตร ( Asymmetric key algorithms) การแบ่งประเภทขึ้นอยู่กับ กุญแจ กุญแจ ใช้ ร่วมกับ อัลกอริทึม ในการ เข้ารหัส และ ถอดรหัส กุญแจในที่นี้ เปรียบเทียบได้กับลูกกุญแจ ต้องมีลูกกุญแจเท่านั้นจึงจะเปิดแม่กุญแจอ่านข้อมูลได้
การเข้ารหัสแบบสมมาตร (Symmetric key algorithms) :
การเข้ารหัสแบบสมมาตร ( Symmetric key algorithms) การเข้ารหัสแบบสมมาตร จะใช้กุญแจลับ ในการติดต่อกันระหว่าง 2 คน อันเดียวกันทั้งในการ เข้ารหัส และ ถอดรหัส ก่อนที่จะส่งข้อมูลที่ถูก เข้ารหัส แล้ว ผ่านระบบเน็กเวิร์ค ทั้ง 2 กลุ่ม ต้องมี กุญแจ และ อัลกอริทึม ที่ตกลงร่วมกัน เพื่อใช้ในการ เข้ารหัส และ ถอดรหัส
AdvanceEncryption Standard: AES
-AES (Federal Information ProcessingStandards Publications, 2001) เป็นอัลกอริทึมที่ถูกคิดค้นและพัฒนาโดย Rijmen and Daemen หรือเรียกกันทั่วไปว่า Rijndael มีการใช้เทคนิคขนาดของคีย์(KeySize) และขนาดของข้อมูล(BlockSize)ซึ่งขนาดของคีย์สามารถเลือกได้เป็น 128 บิต 192 บิต
และ 256 บิต AES แสดงได้แสดงในภาพ
DES
Data Encryption Standard (DES) เป็นวิธีที่ใช้อย่างกว้างขวางของการเข้ารหัสข้อมูลก้วยการใช้ private key (ลับ) ที่พิจารณาว่าละเมิดได้ยากโดยรัฐบาลสหรัฐ โดยได้จำกัดการส่งออกไปประเทศอื่น คีย์เข้ารหัสมีประมาณ 72,000,000,000,000,000 (72 quadrillion) ที่สามารถใช้ได้ สำหรับแต่ละข่าวสาร คีย์ได้รับการเลือกแบบสุ่มจากคีย์จำนวนมาก คล้ายกับวิธีการ private key cryptographic ทั้งผู้ส่งและรับต้องรู้และใช้ private key เดียวกัน
IDEA
IDEA ย่อมาจาก International Data Encryption Algorithm อัลกอริทึมนี้ได้รับการพัฒนาในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่เมือง Zarich โดย James L. Massey และ Xuejia Lai และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1990 อัลกอริทึมใช้กุญแจที่มีขนาด128 บิต และได้รับการใช้งานกับโปรแกรมยอดฮิตสำหรับการเข้ารหัสและลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระบบอีเมล์ที่มีชื่อว่า PGP ต่อมา IDEA ได้รับการจดสิทธิบัตรทางด้านซอฟต์แวร์โดยบริษัท Ascom-Tech AG ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งทำให้การนำไปใช้ในงานต่างๆ เริ่มลดลง ทั้งนี้เนื่องจากติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์นั่นเอง
การเข้ารหัสแบบอสมมาตร ( Asymmetric key algorithms) การเข้ารหัสแบบอสมมาตร เป็นการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการของ กุญแจสาธารณะ และ กุญแจส่วนตัว โดยที่ กุญแจสาธารณะ นั้นเปิดเผย ในระบบเน็กเวิร์ด ได้ส่วน กุญแจส่วนตัว นั้นเก็บไว้เฉพาะบุคคลเท่านั้น การใช้ กุญแจสาธารณะ และ กุญแจส่วนตัว ในการเข้ารหัสนั้นเป็นแบบตรงข้ามกัน คือมีกุญแจเป็นคู่ 2 อันคือ ใช้ กุญแจ อันหนึ่ง เข้ารหัส ต้องใช้อีกกุญแจ เพื่อทำการ ถอดรหัส เท่านั้น
Message Digest
เมสเซสไดเจสต์ (Message Digest) หรือเรียกสั้นๆ ว่าไดเจสต์ แปลว่าข้อความสรุปจากเนื้อหาข้อความตั้งต้น โดยปกติข้อความสรุปจะมีความยาวน้อยกว่าความยาวของข้อความตั้งต้นมาก
จุดประสงค์สำคัญของอัลกอริทึมนี้คือ การสร้างข้อความสรุปที่สามารถใช้เป็นตัวแทนของข้อความตั้งต้นได้ โดยทั่วไปข้อความสรุปจะมีความยาวอยู่ระหว่าง 128 ถึง 256 บิต และจะไม่ขึ้นกับขนาดความยาวของข้อความตั้งต้น
คุณสมบัติที่สำคัญของอัลกอริทึมสำหรับสร้างไดเจสต์มีดังนี้
• ทุกๆ บิตของไดเจสต์จะขึ้นอยู่กับทุกบิตของข้อความตั้งต้น
• ถ้าบิตใดบิตหนึ่งของข้อความตั้งต้นเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ถูกแก้ไข ทุกๆ บิตของไดเจสต์จะมีโอกาสร้อยละ 50 ที่จะแปรเปลี่ยนค่าไปด้วย ซึ่งหมายถึงว่า 0 เปลี่ยนค่าเป็น 1 และ 1 เปลี่ยนเป็น 0 คุณสมบัติข้อนี้สามารถอธิบายได้ว่าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตั้งต้นโดยผู้ไม่ประสงค์ดีแม้ว่าอาจแก้ไขเพียงเล็กน้อยก็ตาม เช่น เพียง 1 บิตเท่านั้น ก็จะส่งผลให้ผู้รับข้อความทราบว่าข้อความที่ตนได้รับไม่ใช่ข้อความตั้งต้น(โดยการนำข้อความที่ตนได้รับเข้าอัลกอริทึมเพื่อทำการคำนวณหาไดเจสต์ออกมา แล้วจึงเปรียบเทียบไดเจสต์ที่คำนวณได้กับไดเจสต์ที่ส่งมาให้ด้วย ถ้าต่างกัน แสดงว่าข้อความที่ได้รับนั้นถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข)
•โอกาสที่ข้อความตั้งต้น 2 ข้อความใดๆ ที่มีความแตกต่างกัน จะสามารถคำนวณได้ค่าไดเจสต์เดียวกันมีโอกาสน้อยมาก คุณสมบัติข้อนี้ทำให้แน่ใจได้ว่า เมื่อผู้ไม่ประสงค์ดีทำการแก้ไขข้อความตั้งต้น ผู้รับข้อความที่ถูกแก้ไขไปแล้วนั้นจะสามารถตรวจพบได้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
อัลกอริทึม SHA-256, SHA-384 และ SHA-512
NIST เป็นผู้นำเสนออัลกอริทึมทั้งสามนี้ในปี 2001 เพื่อใช้งานร่วมกับอัลกอริทึม AES
(ซึ่งเป็นอัลกอริทึมในการเข้ารหัสแบบสมมาตร) อัลกอริทึมเหล่านี้สร้างไดเจสต์ที่มีขนาด 256, 384 และ 512 บิต ตามลำดับ นอกจากอัลกอริทึมสำหรับการสร้างไดเจสต์ที่กล่าวถึงไปแล้วนั้น อัลกอริทึมสำหรับการเข้ารหัสแบบสมมาตร เช่น DES สามารถใช้ในการสร้างไดเจสต์เช่นกัน
วิธีการใช้งานอัลกอริทึมแบบสมมาตรเพื่อสร้างไดเจสต์คือ ให้เลือกกุญแจลับสำหรับการเข้ารหัสขึ้นมา 1 กุญแจโดยวิธีการเลือกแบบสุ่ม และต่อมาใช้กุญแจนี้เพื่อเข้ารหัสข้อความตั้งต้น
แล้วใช้เฉพาะบล็อกสุดท้ายที่เข้ารหัสแล้วเพื่อเป็นไดเจสต์ของข้อความทั้งหมด (ไม่รวมบล็อคอื่นๆ ที่เข้ารหัสแล้ว) อัลกอริทึมแบบสมมาตรสามารถสร้างไดเจสต์ที่มีคุณภาพดี แต่ข้อเสียคือต้องใช้เวลาในการคำนวณไดเจสต์มาก ไดเจสต์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สามารถใช้ในการตรวจสอบว่าไฟล์ในระบบที่ใช้งาน มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่ (ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม) บางครั้งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาจถูกกระทำโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ เช่น ผู้บุกรุก เป็นต้น วิธีการใช้ไดเจสต์เพื่อตรวจ
สอบไฟล์ในระบบคือให้เลือกใช้อัลกอริทึมหนึ่ง เช่น MD5 เพื่อสร้างไดเจสต์ของไฟล์ใน
ระบบและเก็บไดเจสต์นั้นไว้อีกที่หนึ่งนอกระบบ
ภายหลังจากระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ เช่น 1 เดือน ก็มาคำนวณไดเจสต์ของไฟล์เดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วเปรียบเทียบไดเจสต์ใหม่นี้กับไดเจสต์ที่เก็บไว้นอกระบบว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าตรงกัน ก็แสดงว่าไฟล์ในระบบยังเป็นปกติเช่นเดิม
Caesar cipher
รหัสซีซาร์ (อังกฤษ: Caesar cipher) ในทางด้านวิทยาการเข้ารหัสลับ หรือเป็นที่รู้จักกัน
ในชื่ออื่นว่า shift cipher Caesar's code หรือ Caesar shift เป็นเทคนิคการเข้ารหัสที่ง่ายและแพร่หลายที่สุด โดยใช้หลักการแทนที่ตัวอักษร ซึ่งในแต่ละตัวอักษรที่อยู่ในข้อความจะถูกแทนที่ด้วยตัวอักษรที่อยู่ลำดับถัดไปตามจำนวนตัวอักษรที่แน่นอน อย่างเช่น แปลงตัวอักษรไป 3 ตัว อักษร "A" ก็จะถูกแทนที่ด้วยอักษร "D" การเข้ารหัสแบบดังกล่าวตั้งชื่อตามจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งคิดค้นขึ้นเพื่อการติดต่อสื่อสารกับแม่ทัพนายกองของเขา
ขั้นตอนการเข้ารหัสซีซาร์มักจะใช้ร่วมกับการเข้ารหัสที่มีความซับซ้อนมากกว่า
เนื่องจากรหัสซีซาร์ใช้หลักการแทนที่ตัวอักษรเดี่ยวที่มีความตายตัว ดังนั้น
รหัสดังกล่าวจึงสามารถถอดออกมาได้ง่าย รวมไปถึงความจริงที่ว่า ในทางปฏิบัติแล้ว
มักจะไม่ได้ช่วยในการรักษาความปลอดภัยของข้อความนั้นเลย
SHA ย่อจาก Secure Hash Algorithm อัลกอริทึม SHA ได้รับแนวคิดในการพัฒนามาจาก MD4 และได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานร่วมกับอัลกอริทึม DSS (ซึ่งใช้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์) หลังจากที่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่อัลกอริทึมนี้ได้ไม่นาน NIST ก็ประกาศตามมาว่าอัลกอริทึมจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมเล็กน้อยเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม
SHA สร้างไดเจสต์ที่มีขนาด 160 บิต
- การรักษาความลับ (อังกฤษ: Confidentiality) ในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงการรับรอง
ว่าจะมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ และผู้ที่มีสิทธิ์เท่านั้นจึงจะเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ เนื่องจากข้อมูลบางอย่างในองค์กรมีความสำคัญ และไม่สามารถเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกองค์กรได้ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกคุกคามของระบบ ถือเป็นการปกป้องความมั่นคงปลอดภัยของระบบและตัวองค์กรเอง
- ส่วนประกอบ 2 ส่วนที่สำคัญที่จะช่วยทำให้ข้อมูลนั้นเป็นความลับได้ก็คือ
การกำหนดสิทธิ์ และการพิสูจน์ตัวตน ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้รหัสผ่านในการเข้าถึงข้อมูล, ลายเซ็นดิจิตอล, SSL
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น